สมัครเป็นสมาชิกอินสตาแกรมที่มีผู้ติดตามมากกว่า 155,000 คน

metalworking-thailand.com
Sandvik Coromant News

การปรับเปลี่ยนการรับรองคุณภาพในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นระบบดิจิตอล

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้นอยู่กับระบบตรวจสอบและควบคุมที่มีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าที่เคย.

การปรับเปลี่ยนการรับรองคุณภาพในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นระบบดิจิตอล
CoroPlus® Tool Path ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและการเขียนโปรแกรมวิธีการตัดเฉือน เช่น PrimeTurning™ และ OptiThreading™

จากรายงาน Automotive 2030 — Racing toward a digital future ของ IBM พบว่าผู้บริหารในอุตสาหกรรมยานยนต์จำนวน 50% ระบุว่าจำเป็นต้องยกเครื่ององค์กรของตนให้เป็นระบบดิจิตอลจึงจะสามารถประสบความสำเร็จหรืออยู่รอดในอุตสาหกรรมแห่งได้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้กลายเป็นระบบดิจิตอลนั้น ช่วยให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและมีความยืดหยุ่นยิ่งกว่าเดิม ทั้งยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นด้วย แต่เราจะสามารถพัฒนาการรับรองคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ในบทความนี้ Jens Nannen ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีฝ่ายขายระบบตัดเฉือนแบบดิจิตอลประจำภูมิภาคยุโรปของ Sandvik Coromant บริษัทชั้นนำด้านงานตัดเฉือนโลหะจะอธิบายให้ทราบว่า ทำไมระบบตรวจสอบและควบคุมที่มีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อคุณภาพการผลิตและความอยู่รอดของบรรดาผู้ผลิตยานยนต์

ขณะนี้มีผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์หลายรายกำลังเดินหน้าปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้กลายเป็นระบบดิจิตอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น BMW ได้นำแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) มาปรับใช้ภายในโรงงานที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมระบบดิจิตอลจำนวนมากที่เตรียมพร้อมให้พนักงานของ BMW สามารถนำสิ่งเหล่านี้มาผสานรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นโซลูชั่นแบบพร้อมใช้อในลักษณะที่ตนต้องการ แพลตฟอร์มดังกล่าวช่วยลดเวลาในการปรับใช้แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ใหม่ได้ถึง 80% และช่วยลดปัญหาด้านคุณภาพในการผลิตชิ้นส่วนลงได้ 5% ในขณะที่ทางฝั่ง Volkswagen ก็กำลังร่วมมือกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (augmented reality หรือ AR) เพื่อติดฉลากให้กับชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ สำหรับอำนวยความสะดวกในการจับคู่ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นกับเครื่องมือตัดเฉือนที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการด้านเทคนิคของ Volkswagen อย่างเห็นได้ชัด

ทั้งนี้ในปัจจุบันเครื่องจักร CNC และเครื่องกลึงแนวตั้งต่างมีคุณสมบัติรองรับการเชื่อมต่อในรูปแบบดิจิตอลได้มากกว่าที่เคย โดยกระบวนการตัดเฉือนจะสร้างลักษณะเฉพาะทางกายภาพที่ทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกแบบวัดผลได้ รวมทั้งสามารถใช้เซ็นเซอร์และเทคโนโลยี IoT ตรวจสอบเวลาทำงาน เวลาที่ไม่ได้ทำงาน และความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรได้อย่างครอบคลุม นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังช่วยในการระบุปัญหาที่เฉพาะเจาะจง เช่น การแตกหักและชำรุดเสียหายของเครื่องมือและเครื่องจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้ต้องหยุดทำการผลิตอันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด การที่เครื่องจักรหยุดทำงานเป็นเวลาหนึ่งนาทีอาจสร้างความสูญเสียที่มีมูลค่าสูงได้เป็นอย่างมาก โดยผู้ผลิตยานยนต์อาจต้องเสียเงินเป็นมูลค่าหลายพันดอลลาร์ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก TPC)

ความสูญเสียดังกล่าวถือเป็นภาระที่เกินจะแบกรับได้ในการตัดเฉือนชิ้นส่วนยานยนต์ ตัวอย่างเช่น เกียร์และเพลาขับซึ่งมักจะผลิตมาจากเหล็กกล้าทุบขึ้นรูป อันเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการผลิตชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงเป็นพิเศษ ทั้งยังเป็นวัสดุที่ตัดเฉือนได้ยากอย่างมาก และเนื่องจากวัสดุทุบขึ้นรูปมีระดับความลึกที่ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ค่าพิกัดความเผื่อการตัดเฉือนที่แตกต่างกัน โดยอาจแตกต่างกัน 0.5 มม. ไปจนถึงมากกว่า 1 มม. และความลึกในการตัดที่ผันผวนนี้เองที่เป็นสาเหตุให้เครื่องมือมีแนวโน้มจะเกิดการแตกหักได้ง่ายยิ่งขึ้น

การรับรองคุณภาพด้วยระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพอาจทำได้ยากในการตัดเฉือนชิ้นส่วนที่ผลิตจากเหล็กทุบขึ้นรูปและเหล็กหล่อ โดยการตรวจจับการแตกหักของเครื่องมือในสายการผลิตยานยนต์อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความท้าทายสูง เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาวะการตัดเฉือน ระยะเผื่อที่ไม่เท่ากัน หรือชิ้นส่วนที่มีรูปร่างไม่สมมาตร ล้วนเป็นสาเหตุที่ทราบกันดีว่าอาจทำการให้เกิดการแจ้งเตือนความผิดพลาดขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากโรงงานไม่มีกระบวนการตัดเฉือนที่เหมาะสม ความเบี่ยงเบนที่ไม่พึงประสงค์ก็อาจทำให้เครื่องมือตัดเฉือนหรือตัวชิ้นงานเกิดความเสียหายได้เช่นกัน

แล้ววิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคืออะไร ทางออกหนึ่งคือการใช้ระบบตรวจสอบที่มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของกระบวนการควบคุมให้ดีขึ้น และอีกวิธีคือการใช้ระบบ IoT เพื่อช่วยสนับสนุนงานในสายการผลิตที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำด้วยตัวเองให้กลายเป็นกระบวนการทำงานที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

การตัดสินใจด้วยข้อมูลดิจิตอล
โซลูชั่นตรวจสอบกระบวนการตัดเฉือนแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้ผลิตมีโอกาสตอบสนองต่อปัญหาในระหว่างทำการตัดเฉือนได้ดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีการควบคุมกระบวนการจะใช้เซ็นเซอร์ที่มีอัลกอริทึมเฉพาะตัว เพื่อดำเนินการตรวจจับและคำนวณการแตกหักของเครื่องมือแบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบจะหยุดการป้อนและหดเครื่องมือกลับในทันทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาจนถึงขั้นที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงาน

การตรวจจับการปะทะและการเกิดโหลดสูงเกินไปก็สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบแรงและการสั่นสะท้านของเครื่องจักร โดยระบบจะตรวจสอบแรงและการสั่นสะท้านของเครื่องจักรในระหว่างทำการผลิต และจะหยุดทำการป้อนทันทีเมื่อตรวจพบโหลดที่มีปริมาณสูงเกินไป จึงทำให้แก้ปัญหาการปะทะได้เร็วขึ้นและลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายร้ายแรงได้อย่างเห็นผล

ตอนนี้มาทำความรู้จักกับแนวคิดการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เพิ่มเติมกันดีกว่า จะดีแค่ไหนหากเราสามารถมั่นใจได้ว่าทางเดินเครื่องมือมีความถูกต้องก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตัดเฉือน สิ่งนี้สามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและลดปัญหาเครื่องมือแตกหักหรือชำรุดเสียหายโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ได้

คำตอบอยู่ที่ซอฟต์แวร์ CoroPlus® Tool Path ซึ่งสามารถสร้างทางเดินเครื่องมือเฉพาะสำหรับวิธีการตัดเฉือนต่างๆ เช่น PrimeTurning™ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อายุการใช้งานเครื่องมือ และความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน โดยซอฟต์แวร์นี้จะสร้างโค้ดโปรแกรมและเทคนิคต่างๆ สำหรับใช้ในการกำหนดค่าพารามิเตอร์และตัวแปรที่เหมาะสมในการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น สำหรับสายการผลิตยานยนต์ เพื่อรับประกันประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด​ และเนื่องจากซอฟต์แวร์ทำงานบนระบบคลาวด์และสามารถเข้าถึงได้ผ่านเบราว์เซอร์ จึงเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกันและแชร์ข้อมูลภายในบริษัท โค้ด NC ที่ซอฟต์แวร์สร้างขึ้นสามารถแก้ไขและส่งออกเพื่อนำไปใช้ในเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมถึงสามารถปฏิบัติงานและวางแผนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แม้ว่าปัญหาในการผลิตและการหยุดชะงักในสายการผลิตยานยนต์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ แต่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้กลายเป็นระบบดิจิตอลสามารถลดผลกระทบจากการหยุดการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมทั้งเอาชนะความท้าทายในด้านประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุน และเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงานที่บรรดาผู้ผลิตต้องประสบอยู่บ่อยครั้ง และนับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีเมื่อรายงานของ IBM พบว่า 50% ของผู้บริหารในอุตสาหกรรมยานยนต์ระบุว่า จำเป็นต้องยกเครื่ององค์กรของตนให้กลายเป็นระบบดิจิตอล จึงอาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้กลายเป็นระบบดิจิตอลกำลังจะผลักดันให้อุตสาหกรรมแห่งนี้ก้าวเดินไปในทิศทางดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และโซลูชั่นสำหรับการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการอย่าง CoroPlus® Tool Path ก็จะกลายเป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งดิจิตอล

www.sandvik.coromant.com
 

  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม…

LinkedIn
Pinterest

สมัครเป็นสมาชิกอินสตาแกรมที่มีผู้ติดตามมากกว่า 155,000 คน